💥การวิจัยของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ยืนยันว่า การดูและสัมผัสกับหน้าจอ (คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ฯลฯ) มีผลต่อความผิดปกติของสมาธิสั้นในเด็ก และหน้าจอส่งผลต่อการพัฒนาสมองของเด็กอีกด้วย ปัญหาสมาธิสั้นสามารถคงอยู่ต่อเนื่องไปในวัยผู้ใหญ่ได้
.
💥Nader Perroud ผู้ช่วยแพทย์และหัวหน้าหน่วยควบคุมอารมณ์ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจนีวา (HUG) เตือนว่าความสนใจของเด็ก ๆ ที่มีต่อหน้าจอดึงดูดความสนใจและทำให้เสียสมาธิ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากกว่าที่จะมีสมาธิกับงาน เพราะความสนใจจะไปที่สมาร์ทโฟนเป็นหลัก ถูกดึงไปยัง ข้อความ ภาพถ่าย มากกว่าการฟังในชั้นเรียนสมาธิลดลง
.
💥Valérie Camos ศาสตราจารย์ภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Fribourg ยืนยันว่า ความสนใจของเราถูกออกแบบมาให้จำกัดความสนใจให้กับสิ่งเดียวเท่านั้นในแต่ละครั้ง แต่วันนี้สภาพแวดล้อมและสังคมของเราเปลี่ยนแปลงไปมาก: เราต้องประมวลผลข้อมูลหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน เราควรสามารถฝึกฝนและวินัยของตนเองให้เข้ากับสภาพปัจจุบัน ความปรับความสมดุลระหว่างการใช้หน้าจอและไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวันของเรา
1. ฝีกความสามารถในการมีสมาธิในหลากหลายสถานการณ์
ฝึกสมาธิในรูปแบบต่างๆ ฝึกการใช้สมาธิในแต่ละสถานการณ์ ศาสตราจารย์ Nader Perroud ผู้ช่วยแพทย์โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจนีวา (HUG) ยกตัวอย่างเช่น
.
✅การทำกิจกรรมนันทนการ เล่นกีฬา อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ เพื่อเรียกให้กลับมามีสมาธิอย่างต่อเนื่อง ดึงสมาธิให้เราจดจ่อกับงานได้เป็นเวลานาน
✅ฝึกการเลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขจัดองค์ประกอบที่เสียสมาธิ เช่น เมื่อคุณกำลังฟังใครบางคนบนถนนที่มีเสียงดัง คุณฝึกความสามารถที่จะขจัดเสียงรบกวนและตั้งใจฟังคนที่คุณคุยด้วยได้
.
ในสถานการณ์ที่เราจะต้องใช้หน้าจอในการทำงาน การแพร่หลายของข้อมูล เช่น ข้อความ อีเมล และเสียงเรียกเข้า ดึงดูดความสนใจของเราและทำให้เรากระโดดออกไปเข้าถึงข้อมูลโดยอัตโนมัติ เราย้ายจากกิจกรรมไปสู่สิ่งที่บังคับให้ความสนใจของเราไปยังอีกข้อมูลหนึ่งอย่างรวดเร็ว ยิ่งกระโดดบ่อยเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เราเหนื่อยทางใจและทางร่างกายมากขึ้นเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป ความสนใจของเราจะชินกับการก้าวกระโดดเหล่านี้ และกลายเป็นไม่สามารถอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อีกต่อไป เด็กที่เติบโตและเคยชินมากับกระบวนการนี้จะทำให้ความอดทนรอคอยลดลง
.
ศาสตร์ Sophrology สำหรับเด็ก ช่วยฝึกความสามารถในการขจัดสิ่งรบกวนและจดจ่ออยู่กับสิ่งที่สำคัญที่สุดได้ เป็นการฝึกโดยการ Focus ที่เฉพาะจุดรับความรู้สึก ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จะช่วยให้ปัญหานี้ลดลงได้
.
✅ฝึกความสามารถในการทำงานสองอย่างพร้อมกันหรือสลับจากงานหนึ่งไปอีกงานหนึ่งโดยคำนึงถึงงานก่อนหน้า เช่น เราสามารถมีสมาธิขณะที่เราขับรถและสนทนากับใครสักคน เป็นต้น
.
2. สร้างวินัยในการงดใช้หน้าจอก่อนนอนอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง
.
หน้าจอโดยเฉพาะสมาร์ทโฟนเป็นปัญหาเช่นกันเมื่อเราใช้งานในเวลากลางคืน เพราะทำให้เราตื่นตัวจากแสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมา และยังกระตุ้นเราทางอารมณ์และร่างกายเมื่อเราแชทด้วยข้อความหรือเลื่อนผ่านโซเชียลมีเดีย แน่นอนว่าการนอนหลับจะถูกรบกวนนั้นและส่งผลต่อสมาธิ และเป็นวงจรไม่รู้จบ
.
3. สร้างบรรยากาศสถานที่ทำงานให้เกิดสมาธิ และให้รางวัลเมื่องานเสร็จอย่างมีสมาธิต่อเนื่อง
.
Valérie Camos ศาสตราจารย์ภาควิชาจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัย Fribourg กล่าวว่า มันต้องใช้ความสามารถและวินัยที่ยอดเยี่ยมในการควบคุมสมาธิ นอกจากนี้ การจะมีสมาธิในการเรียนหรือทำงานที่บ้านอย่างดีเยี่ยม ขึ้นอยู่กับว่าสภาพแวดล้อมในสถานที่นั้นส่งเสริมให้คุณมีสมาธิจดจ่องานของคุณได้หรือไม่ โดยที่คุณจะต้องไม่กระโดดความสนใจของคุณไปที่อื่นตลอดเวลา เช่น ไปที่เครื่องชงกาแฟหรือโทรทัศน์ ดังนั้น ช่วงที่ลูกของคุณต้องทำงานจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้พยายามนำหน้าจอทั้งหลายออกจากบริเวณนั้น
.
นอกจากนี้ หาแรงจูงใจเพื่อส่งเสริมสมาธิและความสนใจในงาน เช่น คุณสามารถตั้งรางวัลเล็กๆ น้อยๆ ให้ตัวเองเมื่อสิ้นสุดงาน เช่น พักสมอง ทานขนม ดื่มกาแฟ ฯลฯ หากคุณสังเกตจะเห็นว่ากลไกการให้แรงจูงใจนี้ถูกนำไปใช้โดยในระบบสมาร์ทโฟน เช่นการเล่นเกม การสร้างข้อความใหม่ หรือบุคคลที่เผยแพร่โพสต์บนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ระบบจะมีการให้รางวัล เพื่อดึงดูดความสนใจของเรา เพื่อจูงใจเด็ก ๆ ให้ติดอยู่กับหน้าจออย่างต่อเนื่อง คุณสามารถใช้กลไกการให้รางวัลกับเด็กเช่นเดียวกัน ด้วยสติกเกอร์หรือเพียงแค่แสดงความยินดีและกอดพวกเขาที่ทำงานสำเร็จในวันนี้ เป็นต้น
.
🌈ท้ายที่สุดแล้ว วิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีมีส่วนช่วยในการรักษาความสามารถในการมีสมาธิที่ดี: ในยุคที่หน้าจอกลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องมีวินัยอย่างมากในแต่ละวัน การหลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอนั้นเป็นไปไม่ได้แต่สามารถควบคุมระยะเวลาในการใช้งานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเย็น การนอนหลับให้เพียงพอและการรับประทานอาหารที่สมดุล และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยังช่วยเพิ่มสมาธิอีกด้วย
.
🌈เจน กิเนล
Certified Sophrologe จากสถาบัน Académie Suisse de Sophrologie (ASS) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ปี 2022-2023
#วิทยากรอบรม #วิทยากรโรงเรียน #รับบรรยายสัมมนา #จิตแพทย์เด็ก #สมาธิสั้น #หนังสือเลี้ยงลูกแบบนี้ไม่มีสมาธิสั้นฉบับหมอสวิสฯ #คอร์สฟื้นฟูEQเด็ก #DigitalDetox
Kommentare