top of page
ค้นหา

วิธีนำบุตรเข้ามาอยู่ฝรั่งเศส โดยการรับบุตรบุญธรรม อย่างไร??

รูปภาพนักเขียน: เจน กิเนลเจน กิเนล


Q: การรับบุตรบุญธรรมโดยชาวฝรั่งเศส ✍️ คืออะไร❓

A: "การรับบุตรบุญธรรม" คือ ครอบครัวอุปถัมภ์ที่เรียกว่า "ผู้รับบุตรบุญธรรม" ชาวฝรั่งเศสรับเลี้ยงเด็กที่เกิดจากครอบครัวอื่นเข้ามาอยู่ในครอบครัวของตนเอง


Q: การรับบุตรบุญธรรมโดยชาวฝรั่งเศส ✍️ เหมาะกับใคร❓

A: ชาวฝรั่งเศสที่มีคู่สมรสชาวไทยที่มีบุตรก่อนสมรส และต้องการนำบุตรเข้ามาอุปถัมภ์เลี้ยงดู และสร้างความผูกพันแบบครอบครัวที่มีผลทางกฏหมายของฝรั่งเศสด้วย (ทะเบียนราษฎร์ การใช้นามสกุล การได้สัญชาติ การมีส่วนร่วมด้านมรดก) แนะนำสำหรับบุตรก่อนสมรสที่มีอายุเกิน 18 ปี กรณีอายุน้อยกว่า 18 ปี สามารถนำบุตรเข้ามาได้ด้วยระบบ Regroupement Familiale โดยไม่ต้องทำเรื่องรับบุตรบุญธรรม นอกจากว่าคู่สมรสต้องการจริงๆ


Q: ถ้าต้องการนำบุตรมาอยู่ที่ฝรั่งเศส จำเป็นต้องรับบุตรบุญธรรมหรือไม่?✍️❓

A: ❌ ไม่จำเป็น การนำบุตรเข้ามาอยู่ฝรั่งเศสโดยทั่วไปจะขอวีซ่าประเภทเยี่ยมเยือนกรณีที่คุณแม่ไม่เคยอยู่ฝรั่งเศสเลยเหลืออยู่ไม่ถึง 18 เดือนหรือขอวีซ่าประเทศติดตามครอบครัวกรณีที่คุณแม่เคยอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสมาแล้วเกินกว่า 18 เดือน แต่ในปัจจุบัน วีซ่านำบุตรเข้ามาผ่านยากขึ้นเนื่องจากสาเหตุหลักคือสามีฝรั่งเศส มีรายได้น้อย ว่างงาน หรือพิการ และอีกหนึ่งสาเหตุคือบุตรของคนไทยมีอายุเกินกว่า 18 ปีไปแล้วจึงไม่สามารถขอวีซ่านำบุตรเข้ามาได้อีกในฐานะติดตามครอบครัวทำให้การรับบุตรบุญธรรมเป็นที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นเพราะเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยนำบุตรเข้ามาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสได้ง่ายนั่นเอง


Q: ใครที่มีสิทธิ์รับบุตรบุญธรรมได้ ✍️❓

  • กรณีรับบุตรอายุน้อยกว่าหรือมากกว่า18 ปี โดยบุตรเป็นของคู่สมรส ปักส์ หรือ Concubinage ชาวไทย ชาวฝรั่งเศสจะต้องมีอายุมากกว่าเด็กอย่างน้อย 10 ปี โดยไม่มีกำหนดอายุขั้นต่ำของชาวฝรั่งเศส

  • กรณีรับบุตรอายุน้อยกว่าหรือมากกว่า18 ปี โดยไม่ได้เป็นบุตรเป็นของคู่สมรส ปักส์ หรือ Concubinage ชาวไทย (ส่วนมากเป็นหลาน) ชาวฝรั่งเศสจะต้องมีอายุมากกว่าเด็กอย่างน้อย 15 ปี และชาวฝรั่งเศสจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 26 ปี


Q: การรับบุตรบุญธรรมโดยชาวฝรั่งเศส ✍️ มีกี่ประเภท❓ A: ประเทศฝรั่งเศสมีการรับบุตรบุญธรรมอยู่สองประเภทคือ .

🧑แบบที่ 1 การรับบุตรบุญธรรม "แบบง่าย" (L'adoption simple) จะสร้างความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างบิดามารดาที่รับบุตรบุญธรรมกับบุตรของคู่สมรส (ผู้รับบุตรบุญธรรม) แต่ไม่ได้ขจัดหรือแทนที่ความสัมพันธ์ที่มีอยู่แล้ว หมายถึง บุตรบุญธรรมยังคงมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดเดิมกับพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด . ***เหมาะกับครอบครัวทางสายเลือดยังมีชีวิตอยู่ ผลทางกฏหมาย

  • อำนาจปกครองบุตรตกเป็นของผู้รับบุตรบุญธรรม พ่อหรือแม่ผู้ให้กำเนิดขาดสิทธิ์การปกครองบุตร

  • ผู้รับบุตรบุญธรรมเป็นผู้ดูแลค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม พ่อหรือแม่ผู้ให้กำเนิดสามารถให้การช่วยเหลือได้กรณีผู้รับบุตรบุญธรรมเกิดการขัดสน

  • นามสกุลของบุตรบุญธรรม จะถูกเพิ่มหรือแทนที่ด้วยนามสกุลใหม่ เว้นแต่ทางผู้รับบุตรบุญธรรมขอให้ใช้นามสกุลเดิมและศาลพิจารณาเห็นด้วย สำหรับบุตรอายุเกิน 13 ปีจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนนามสกุลหรือไม่

  • ผู้รับบุตรบุญธรรมสามารถเปลี่ยนชื่อบุตรบุญธรรมของตนได้ กรณีบุตรอายุเกิน 13 ปีจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนชื่อหรือไม่

  • บุตรบุญธรรมจะไม่ได้สัญชาติฝรั่งเศสโดยอัตโนมัติ แต่เมื่ออายุครบ 18 ปีบุตรบุญธรรมจึงจะมีสิทธิ์ยื่นขอสัญชาติได้

  • บุตรบุญธรรมจะได้รับมรดกจากทั้ง 2 ครอบครัวคือครอบครัวทางสายเลือดเดิมและครอบครัวผู้ที่รับบุตรบุญธรรม ยกเว้นมรดกจากบรรพบุรุษของครอบครัวผู้รับบุตรบุญธรรม

.

🧑แบบที่ 2 การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมแบบ "เต็มรูปแบบ" (adoption plénière) สร้างความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างบิดามารดาที่รับบุตรบุญธรรมกับบุตรของคู่สมรส (ผู้รับบุตรบุญธรรม) โดยแทนที่ความสัมพันธ์ครอบครัวเดิมที่มีอยู่แล้วอย่างสิ้นเชิง หมายถึง บุตรบุญธรรมตัดขาด (rupture totale) ความสัมพันธ์ทางสายเลือดเดิมกับพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดอย่างสิ้นเชิง .

  • บุตรบุญธรรมจะต้องทำสูติบัตรใหม่โดยสูติบัตรเดิมจะถูกยกเลิกไป โดยชื่อของบิดามารดาของผู้รับบุตรบุญธรรมจะถูกแทนที่บิดามารดาทางสายเลือดเดิม

  • บุตรบุญธรรมได้สัญชาติฝรั่งเศสโดยอัตโนมัติ ก็ถือว่าได้สัญชาติฝรั่งเศสโดยกำเนิด

  • ผู้รับบุตรบุญธรรมมีอำนาจปกครองบุตร 100%

  • นามสกุลของบุตรบุญธรรม จะถูกเพิ่มหรือแทนที่ด้วยนามสกุลใหม่ ผู้รับบุตรบุญธรรมสามารถเปลี่ยนชื่อบุตรบุญธรรมของตนได้ กรณีบุตรอายุเกิน 13 ปีจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนชื่อหรือไม่

  • ไม่อนุญาตให้แต่งงานกับครอบครัวในสายเลือดเดิมรวมถึงครอบครัวใหม่

  • ได้รับมรดกจากครอบครัวผู้ที่รับบุตรบุญธรรม รวมถึงมรดกจากบรรพบุรุษของครอบครัวผู้รับบุตรบุญธรรม โดยไม่ได้รับสิทธิ์ในมรดกของครอบครัวทางสายเลือดอีกต่อไป

.

Q: ขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรมมีอะไรบ้าง✍️❓

A: กรณีเด็กอายุเกิน 15 ปี กรอกแบบฟอร์ม และส่งเอกสารไปที่ tribunal judiciaire du domicile de l'adoptant ศาลจะส่งผลการพิจารณากลับมาให้ผู้ยื่นคำร้อง . กรณีเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี จำเป็นต้องทำเรื่องผ่านทนายเท่านั้น .


💯💯💯 ต้องการคำปรึกษาหรือรับบริการวีซ่าฝรั่งเศส หรือขอรับบริการเตรียมเอกสารสำหรับการจดทะเบียนปักส์ จดทะเบียนสมรส หรือการขอเอกสารราชการไทยเพื่อนำไปใช้ในติดต่องานราชการฝรั่งเศส เปิดบัญชีธนาคารฝรั่งเศส ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศส ล่ามประสานงานกับอำเภอหรืองาน event พิธีกรฝรั่งเศส ปรึกษาการวางแผนชีวิตหลังแต่งงานหรือจดปักส์ Life Planner ติดต่อสอบถามได้ที่ Line ID janeguinel หรือ Whatsapp +33781994174 ค่ะ .


เจน กิเนล #สัญชาติฝรั่งเศส #วีซ่าฝรั่งเศส #จดทะเบียนฝรั่งเศส #แต่งงานฝรั่งเศส #จดปักส์ฝรั่งเศส #แฟนฝรั่งเศส #รับรองนิติกรณ์ #วีซ่าไม่ผ่าน #จดหมายอุทธรณ์ #ล่ามฝรั่งเศส #Sophrologie #Sophrology #ครูฝรั่งเศส #แปลหนังสือฝรั่งเศส #PACS #หย่าฝรั่งเศส #lifeplanner #นักวางแผนอาชีพ #อาชีพฝรั่งเศส #งานฝรั่งเศส #เรียนต่อฝรั่งเศส

ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

🙋‍♀️ทำไมนำบุตรเข้ามาอยู่ฝรั่งเศส โดยการรับบุตรบุญธรรมจึงได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ❓

. มีเหตุผลอยู่ 3 ประการค่ะ . 1 👨‍👩‍👧‍👦คนไทยที่มีบุตรก่อนสมรสกับชาวฝรั่งเศส ต้องการนำบุตรที่มีอายุ “เกินกว่า18 ปี”...

Comments


bottom of page