top of page
ค้นหา

🔥วิธีการอ่านแสตมป์วีซ่า schengen ฝรั่งเศส🔥

ขอแสดงความยินดีกับผู้สมัครวีซ่าฝรั่งเศสทุกท่าน ที่ได้รับวีซ่าฝรั่งเศสเป็นที่เรียบร้อยแล้วเรามาทำความเข้าใจกับข้อมูลในวีซ่ากันดีกว่าค่ะ

#อ่านแสตมป์วีซ่า #การอ่านวีซ่า #สัญลักษณ์ในวีซ่า #วันหมดอายุวีซ่า #จำนวนวันที่พำนัก


ทำไมเราจึงต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลในวีซ่าฝรั่งเศส

1 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนตัวเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเมื่อเราเข้าประเทศใดก็แล้วแต่ในกลุ่มประเทศเชงเก้น

2 เข้าใจประเภทของวีซ่าฝรั่งเศสที่ได้รับ เพื่อผลประโยชน์ของผู้สมัครวีซ่าฝรั่งเศส หากเราได้รับวีซ่าฝรั่งเศส ระยะเวลานานกว่าที่เราขอ เราจะได้ทราบว่าเราสามารถกลับไปใหม่ได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าฝรั่งเศสในครั้งถัดไป

3 ป้องกันความผิดพลาดจากการพำนักอยู่เกินกว่าจำนวนวันที่ระบุในวีซ่าฝรั่งเศส ผู้สมัครวีซ่าฝรั่งเศสที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแผนการเดินทาง โดยต้องการพำนักยาวนานเท่ากับจำนวนวันที่สถานทูตฝรั่งเศสให้ จะได้มั่นใจว่าไม่อยู่เกินกว่าที่ระบุ ข้อมูลสำคัญในวีซ่าฝรั่งเศส 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัครวีซ่าฝรั่งเศสได้แก่ ชื่อ นามสกุล หมายเลขพาสปอร์ต 2 อายุการใช้งานของวีซ่า 3 ระยะเวลาที่ผู้สมัครวีซ่าฝรั่งเศสสามารถอยู่พำนักได้ 4 ประเภทของวีซ่า แบบเข้าออกได้หลายครั้งหรือใช้ได้เพียงครั้งเดียว


Link: ตัวย่อของแต่ละประเทศ https://www.schengenvisainfo.com/visa-sticker/

Link: คำนวณจำนวนวันพำนัก https://www.schengenvisainfo.com/visa-calculator/


ขอให้ผู้สมัครวีซ่าฝรั่งเศสผู้โชคดีทุกท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพ แล้วพบกันใหม่นะคะ สวัสดีค่ะ


ด้วยรัก

เจน กิเนล


"ทำวีซ่าฝรั่งเศสด้วยตัวเอง ใครว่ายาก เชิญทางนี้"✨ ไม่ว่าจะเป็นการขอวีซ่าท่องเที่ยวระยะสั้นหรือวีซ่าเยี่ยมเพื่อน/เยี่ยมครอบครัวระยะสั้น สำหรับผู้ที่มีอาชีพประจำหรืออาชีพอิสระ เจนมีสูตรสำเร็จสำหรับยื่นวีซ่าให้ผ่านชัวร์สำหรับปี 2019-2020 ชมรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ https://www.gofranceswiss.com/visa


🔥🔥🔥สูตรสำเร็จสำหรับผู้ที่ไม่มีอาชีพ หรือมีอาชีพอิสระที่ไม่มีใบรับรองการทำงาน หรือเป็นค้าขาย รับจ้างแบบไม่จดทะเบียน 1 ช่วยงานหรือกิจการเล็กๆที่บ้านที่ไม่ได้จดทะเบียน ค้าขายทั่วไปในตลาด ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ทำการเกษตร (ปลูกผัก เลี้ยงปลา) 2 ทำงานหน่วยงานรัฐหรือเอกชนแบบชั่วคราว ที่ไม่สามารถช่วยออกเอกสารให้ 3 รับจ้างทั่วไปแบบทำเองคนเดียว ไม่ขึ้นกับร้านค้าหรือหน่วยงานจดทะเบียน เช่น รับเลี้ยงเด็ก ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหารกล่องส่ง เล่นดนตรีในร้านอาหาร ครูสอนพิเศษ ดูแลผู้สูงอายุ รับจ้างแต่งหน้าทำผม รับจ้างนวด ตัดเย็บเสื้อผ้า รับจ้างถ่ายภาพ ซ่อมแซมบ้าน ซัก-รีด 4 ค้าขายออนไลน์ตาม Social Media เช่น Facebook, Youtube, Instragram เป็นต้น ที่ผู้สมัครไม่ได้เป็นเจ้าของเว็บไซด์ 5 ผู้สมัครมีสภาวะที่ไม่สามารถทำงานได้ เช่่น ป่วยไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ หรือจำเป็นต้องอยู่ดูแลสมาชิกครอบครัวที่ป่วยทำให้ไม่สามารถทำงานได้ 6 เป็นนักลงทุน มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ จนไม่จำเป็นต้องทำงาน

ดู 5 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page