top of page
ค้นหา

3 ความเข้าใจผิด ใช้วิซ่าเชงเก้นผิด กลายเป็นโรบินฮู้ดโดยไม่รู้ตัว

อัปเดตเมื่อ 31 ม.ค. 2563



ความเข้าใจผิด 3 สิ่งที่พบบ่อย สำหรับผู้ที่มีการเปลี่ยนแผนการเดินทางหลังจากได้รับวีซ่าแล้วต้องการใช้วีซ่าให้คุ้มค่ามากขึ้นตามสิทธิที่ได้รับ เพราะสำหรับผู้ที่มีโปรไฟล์ดีมักจะได้รับสิทธิ์ในการอยู่ได้นานกว่าจำนวนวันเดินทางที่ขอจริงเช่นผู้สมัครกรอกฟอร์มขอวีซ่าท่องเที่ยวจำนวนทั้งหมด 15 วันแต่ได้รับติดในการทำพนักจริงจำนวน 30 วันเป็นต้น


เนื่องจากจะได้รับคำถามจากผู้สมัครทำให้เกิดความเป็นห่วงว่า ถ้าเราเข้าใจสิทธิได้รับผิดพลาด อาจทำให้เรากลายเป็นโรบินฮูดโดยไม่รู้ตัวได้ค่ะ


ความเข้าใจผิดที่ 1 เข้าใจว่าผู้สมัครสามารถอยู่พำนักในประเทศ schengen ตามระยะเวลาวันหมดอายุของวีซ่า


ได้ Visa schengen ให้สังเกตว่านอกจากจะมีวันหมดอายุแล้ว มีอีกส่วนหนึ่งที่เรียกว่าระยะเวลาพำนักหรือภาษาอังกฤษคือ Duration of Stay ขออธิบายความหมายดังนี้


+ วันเริ่มต้นใช้งานและหมดอายุของวีซ่า หมายถึงระยะเวลาที่ผู้สมัครสามารถเดินทางเมื่อไหร่ก็ได้ภายในกำหนดอายุของวีซ่า


+ ระยะเวลาพำนักหรือภาษาอังกฤษคือ Duration of Stay หมายถึงระยะเวลาที่ผู้สมัครพำนักอยู่จริงในประเทศในกลุ่มประเทศเชงเก้น


โดยทั่วไปแล้วสำหรับวีซ่าฝรั่งเศสผู้สมัครมักจะได้รับระยะเวลาการใช้งานของ Visa ยาวนานกว่าระยะเวลาพำนักจริง ส่วนมากที่พบบ่อยๆคือเรามักจะได้รับระยะเวลาการใช้งานยาวนานถึง 90 วันแต่ระยะเวลาพำนักจริงระบุเพียง 30 วันเท่านั้น


ผู้สมัครบางท่านไม่ได้สังเกตระยะเวลาพำนักจึงเข้าใจว่าเราสามารถอยู่ได้ยาวนานถึง 90 วัน เพราะกำหนดวีซ่าระยะสั้นโดยปกติเราสามารถได้อยู่ถึง 90 วัน นี่เป็น Classic Case ที่เกิดขึ้นบ่อยค่ะ


ดังนั้นเช็คให้ดีนะคะว่าระยะเวลาพำนักจริงเราอยู่ได้กี่วันผู้สมัครไม่ควรอยู่เกินจำนวนระยะเวลาพำนักค่ะ


ความเข้าใจผิดที่ 2 เข้าใจว่าเราขอวีซ่าเชงเก้นครั้งแรกที่ประเทศใดสามารถเข้าได้แค่ประเทศนั้นเท่านั้นในครั้งถัดไป


สมมุติว่าผู้สมัครขอวีซ่าฝรั่งเศสในครั้งแรกกับสถานทูตฝรั่งเศสเมื่อกลับมาที่เมืองไทยแล้วต้องการจะเข้าประเทศเยอรมนีในครั้งถัดไป ผู้สมัครยังมีสิทธิ์ในการใช้วีซ่าเชงเก้น และยังมีเวลาพำนักเหลืออยู่ แต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถเข้าประเทศอื่นๆในเชงเก้นได้หรือไม่


คำตอบคือได้ค่ะผู้สมัครไม่จำเป็นต้องไปขอวีซ่ากับประเทศอื่นแต่อย่างใด ขอเพียงแต่ประเทศที่ผู้สมัครจะเข้าครั้งถัดไปเป็นประเทศอยู่ในกลุ่มของสหภาพยุโรป ก็สามารถเข้าได้โดยไม่ผิดกฎหมายค่ะ


ความเข้าใจผิดที่ 3 เข้าใจว่าระยะเวลาที่พำนักจะถูกรีเซ็ตใหม่เมื่อเรากลับเข้าประเทศไทย สมมุติว่าเราได้รับวีซ่าเชงเก้นมีระยะเวลาพำนักทั้งหมด 30 วันผู้สมัครใช้ไปแล้ว 20 วัน เมื่อกลับประเทศไทยเห็นว่าวีซ่ายังไม่หมดอายุเราต้องการกลับเข้าไปเที่ยวใหม่โดยเข้าใจว่าทุกครั้งที่กลับเข้าไปใหม่จะสามารถพำนักได้ 30 วันทุกครั้ง เป็นความเข้าใจผิดอย่างแท้จริง


การนับระยะเวลาพำนักของวีซ่าเชงเก้น ให้นับรวมทุกครั้งที่เราเข้าประเทศในกลุ่มวีซ่าเชงเก้น ไม่ว่าจะแบ่งใช้จำนวนกี่ครั้งก็ตาม


หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคลิปนี้จะช่วยให้ผู้สมัครวีซ่าฝรั่งเศสผู้สมัครวีซ่าเชงเก้นเข้าใจวิธีการใช้วีซ่าเชงเก้นอย่างปลอดภัยมากขึ้นขอให้ทุกท่านโชคดีนะคะมีคำถามเพิ่มเติมสามารถสอบถามมาได้เลยค่ะ


เจน กิเนล

ดู 468 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page